การพยากรณ์ฤดูกาล ของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562

วันที่พยากรณ์โดย
TSR
จำนวน
พายุโซนร้อน
จำนวน
พายุไต้ฝุ่น
จำนวน
พายุรุนแรง
ดัชนีเอซีอีอ้างอิง
เฉลี่ย (2508–2560)26 ลูก16 ลูก9 ลูก294 หน่วย[2]
7 พฤษภาคม 256227 ลูก17 ลูก10 ลูก354 หน่วย[2]
5 กรกฎาคม 256225 ลูก15 ลูก8 ลูก260 หน่วย[3]
7 สิงหาคม 256226 ลูก16 ลูก8 ลูก270 หน่วย[4]
วันที่พยากรณ์ศูนย์พยากรณ์ช่วงเวลาระบบพายุอ้างอิง
7 กุมภาพันธ์ 2562PAGASAมกราคม–มีนาคม1–2 ลูก[5]
7 กุมภาพันธ์ 2562PAGASAเมษายน—มิถุนายน2–4 ลูก[5]
15 กรกฎาคม 2562PAGASAกรกฎาคม–กันยายน6–9 ลูก[6]
15 กรกฎาคม 2562PAGASAตุลาคม–ธันวาคม3–5 ลูก[6]
ฤดูกาล 2562ศูนย์พยากรณ์พายุหมุน
เขตร้อน
พายุโซนร้อนพายุไต้ฝุ่นอ้างอิง
เกิดขึ้นจริง:JMA52 ลูก29 ลูก16 ลูก
เกิดขึ้นจริง:JTWC30 ลูก27 ลูก15 ลูก

ในระหว่างฤดูกาล หลายหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาและหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละประเทศจะมีการคาดการณ์ของพายุหมุนเขตร้อน, พายุโซนร้อนและพายุไต้ฝุ่น ที่จะก่อตัวในช่วงฤดู และ/หรือ จะมีพายุกี่ลูกที่ส่งผลกระทบต่อประเทศนั้น หลายหน่วยงานนี้ได้รวมไปถึงองค์กรความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน, สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) และสำนักสภาพอากาศกลางของไต้หวันด้วย การพยากรณ์แรกของปีได้รับการเผยแพร่โดย PAGASA เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ภายในการคาดหมายสภาพอากาศประจำฤดูกาลช่วงเดือนมกราคม–มิถุนายนของฟิลิปปินส์[5] การคาดหมายดังกล่าวคาดหมายว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนหนึ่งถึงสองลูกปรากฏขึ้นในระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม และคาดว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนสองถึงสี่ลูกก่อตัวหรือเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ ในระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ยิ่งไปกว่านั้น PAGASA พยากรณ์ว่ามีโอกาสถึง 80% ที่จะเป็นเอลนีโญกำลังอ่อนในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม และเมษายนด้วย[5] วันที่ 7 พฤษภาคม องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ได้ออกการพยากรณ์ฉบับแรกของฤดูกาล โดยคาดหมายว่าในฤดูกาล 2562 นี้ จะเป็นฤดูกาลที่มีพายุสูงกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย โดยมีพายุที่ได้รับชื่อจำนวน 27 ลูก ซึ่งเป็นพายุไต้ฝุ่น 17 ลูก และเป็นพายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรง 10 ลูก[2] หนึ่งในปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังลักษณะเช่นนี้ มาจากความเป็นไปได้ในการพัฒนาขึ้นของเอลนีโญกำลังปานกลาง ที่คาดหมายว่าจะเกิดขึ้นภายในไตรมาสที่สามของปี[2]

วันที่ 5 กรกฎาคม องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อนได้ออกการพยากรณ์ฉบับที่สองของฤดูกาล โดยปรับลดจำนวนของพายุหมุนเขตร้อนลงในระดับต่ำกว่าค่าปกติที่พายุโซนร้อนจำนวน 25 ลูก เป็นพายุไต้ฝุ่นจำนวน 15 ลูก และเป็นพายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรง 8 ลูก[3] ขณะที่ PAGASA ได้ออกการคาดหมายฉบับที่สองของฤดูกาลในวันที่ 15 กรกฎาคม โดยคาดว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนหกถึงเก้าลูกก่อตัวขึ้นหรือเข้าสู่พื้นที่ของสำนักงานฯ ในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน และประมาณสามถึงห้าลูกในเดือนกันยายนถึงธันวาคม สำนักงานฯ ยังคาดอีกด้วยว่าภาวะเอลนีโญกำลังอ่อนนั้นจะอ่อนกำลังลงไปอีกจนกลับไปสู่สภาวะปกติในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2562[6] วันที่ 7 สิงหาคม องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อนได้ออกการคาดหมายสุดท้ายของฤดูกาล ซึ่งคาดว่าจะเป็นฤดูที่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย โดยมีพายุที่ได้รับชื่อจำนวน 26 ลูก ในจำนวนนั้นเป็นพายุไต้ฝุ่น 16 ลูก และในจำนวนพายุไต้ฝุ่นเป็นพายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรง 8 ลูก[4]

กรมอุตุนิยมวิทยาไทย

วันที่ 30 เมษายน กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกการคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ. 2562 ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อน (ประกอบด้วยพายุดีเปรสชัน พายุโซนร้อน และ พายุไต้ฝุ่น) เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย 1 ลูก โดยมีโอกาสสูงที่จะเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือในช่วงเดือนสิงหาคมหรือกันยายน[7]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 http://fj.people.com.cn/n2/2019/0825/c181466-33285... http://tcdata.typhoon.gov.cn/en/ http://tcrr.typhoon.gov.cn/EN/article/downloadArti... http://www.china.org.cn/china/2019-08/12/content_7... http://bbs.typhoon.org.cn/read.php?tid=78666&fid=5... http://thoughtleadership.aonbenfield.com//Document... http://thoughtleadership.aonbenfield.com//Document... http://www.asahi.com/ajw/articles/AJ201907210031.h... http://www.australiasevereweather.com/cyclones/200... http://www.jejunews.com/news/articleView.html?idxn...